สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

มณฑาทิพย์


ชื่อสามัญ Magnolita

ชื่อวิทยาศาสตร์ Talauma candellei

ตระกูล MACNOLIACEAE

ถิ่นกำเนิด –

ลักษณะทั่วไปมณฑา

มณฑาทิพย์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะเป็นพุ่มผิวเปลือกลำต้นเรียบสีเทา ลำต้นมีความสูงประมาณ
4-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาน้อยใบมีขนาดใหญ่มีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ขอบใบขนานตัวใบเป็นคลื่นเล็ก
น้อย ขนาดใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตร ดอกแตกออกตามง่ามใบ หรือส่วนยอดของลำ
ต้น กลีบดอกแข็งหนา กลีบดอก 3 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ลักษณะคล้ายกับดอกลำดวน ดอกเล้กสีเหลืองมีกลิ่นหอมไปไกล

การเป็นมงคลมณฑา

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมณฑาไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์เพราะดอกมณฑาเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ 
อยู่บนสวรรค์และได้บันดาลตกลงมาสู่โลกมนุษย์นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าบ้านใดปลูกต้นมณฑาไว้ประจำบ้านจะทำ
ให้เกิดความงดงาม ชวนมอง เพราะดอกมณฑาเวลาบานนั้น ดอกมีสีเหลืองนวล หอมได้นานดูแล้วงามแพรวพราวจับใจ
ซึ่งมีลักษณะพิเศษเหมือนกับดอกมณฑาทิพย์

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกมณฑา

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมณฑาไว้ทางทิศตะวัตตกเฉียงเหนือผู้ที่ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะ
โบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิด
ในวันพฤหัสบดีเพราะมณฑาเป็นดอกไม้ประจำของนากิริณีเทวีซึ่งเป็นนางประจำวันพฤหัสบดีในธดาของพระอินทร์นอก

จากนี้ถ้าหากผู้อาศัยในบ้านเกิดในวันพฤหัสบดีด้วยแล้วก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้น

การปลูกมณฑา

นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษามณฑา

แสง                         ต้องการแสงแดดอ่อน รำไร หรือแสงแดดปานกลาง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นสูง

ปุ๋ย                          ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-5 ครั้ง

การขยายพันธ์         การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การตอน

โรคและศัตรู             ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร